วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณ (Codes of Conduct) (Professional Ethics)


จรรยาบรรณ หมายถึง   ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพนั้น ๆต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม
1.    ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้
2.    หลักความประพฤติที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมของบุคคลในแต่ละกลุ่มวิชาชีพ
จรรยาบรรณวิชาชีพ  (Code of Ethics )
n    จรรยาบรรณเกิดขึ้นเพื่อ   *มุ่งให้คนในวิชาชีพมีประสิทธิภาพ* ให้เป็นคนดีในการบริการวิชาชีพ
*ให้คนในวิชาชีพมีเกียรติศักดิ์ศรีที่มีกฎเกณฑ์มาตรฐานจรรยาบรรณ
n    จรรยาบรรณ มีความสำคัญและจำเป็นต่อทุกอาชีพ ทุกสถาบัน และหน่วยงาน เพราะเป็นที่ยึดเหนี่ยวควบคุมการประพฤติ ปฏิบัติด้วยความดีงาม
จรรยาบรรณวิชาชีพครู(Code of Ethics of Teaching Profession)
ความหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพครู คือ กฎแห่งความประพฤติสำหรับสมาชิกวิชาชีพครู ซึ่งองค์กรวิชาชีพครูเป็นผู้กำหนด และสมาชิกในวิชาชีพทุกคนต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด หากมีการละเมิดจะมีการลงโทษ
n    ความสำคัญจรรยาบรรณวิชาชีพครูจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีความสำคัญต่อวิชาชีพครูเช่นเดียวกับที่จรรยาบรรณวิชาชีพ มีความสำคัญต่อวิชาชีพอื่น ๆ ซึ่งสรุปได้ ๓ ประการ คือ
n    ๑. ปกป้องการปฏิบัติงานของสมาชิกในวิชาชีพ
n    ๒. รักษามาตรฐานวิชาชีพ
n    ๓. พัฒนาวิชาชีพ
แบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539
n    ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
n    ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ
n    ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
n    ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
n    ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
n    ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมืองอยู่เสมอ
n    ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
n    ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
n    ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

จรรยาบรรณนักเรียนนักศึกษา 10ประการ
*พึงหาโอกาสเรียนรู้ ให้เข้าใจใช้เหตุผลโดยเร็วที่สุดตามระดับวัย 
*พึงรับทุกอย่างด้วยเหตุผล พึงรับพิจารณาความคิดอย่างมีเหตุผลถึงแม้จะยังไม่เห็นด้วย  เคารพความคิดผู้อื่นโดยยึดถือการประนีประนอม และหาทางสายกลาง 
* การเรียนไม่ใช่เป็นการกอบโกย เอาเปรียบผู้อื่น
* ให้ถือว่าสังคมโรงเรียน/สถาบันการศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตจริง
*สร้างสังคมในโรงเรียน/สถาบันการศึกษา  ในอุดมการณ์ปรับปรุงให้ทันสมัยทันเหตุการณ์เสมอ
*สุจริตในการทำการบ้านและในการสอบ   
*ถือว่าเกียรติอยู่เหนือผลประโยชน์ใดๆ 
* ฝึกน้ำใจนักกีฬาในการแข่งขันทุกประเภท
*ให้เกียรติคอาจารย์รูและเพื่อนเสมอ   
* ถือว่าสิทธิจะต้องแลกเปลี่ยนกับหน้าที่และความรับผิดชอบเสมอ

ขีดสมรรถนะ (Competency)
ขีดสมรรถนะ คือ ความรู้และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานของการปฎิบัติงานหนึ่งๆ
ขีดสมรรถนะ ที่มีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
n    เข้าใจบริบทการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
n    คิด/วิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ได้อย่างเหมาะสม  (วางแผนผังเชิงยุทธศาสตร์และมีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน/วัดผลงานได้)
n    สามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติอย่างบรรลุผล และบริหารการเปลี่ยนแปลงได้
n    ป้องกัน/ควบคุมความเสี่ยง
n    มีการควบคุมคุณภาพมาตรฐานการทำงาน
n    มีจริยธรรมและความซื่อสัตย์
สมรรถนะงานสายงานวิชาชีพครูของไทย
n    มาตรฐานวิชาชีพครูตามพ.ร.บ.สภาครู พ.ศ.2547 มี 3ด้าน
n    1. มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
n    2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน
n    3. มาตรฐานการปฏิบัติตน

ธรรมาภิบาล

ธรรมาภิบาล” (Good Governance)



    ธรรมาภิบาล  คือ ธรรมะ + อภิบาล  หมายถึง ปกครองด้วยคุณความดี ซื่อตรงต่อกัน  มั่นคงในสัญญาที่มีต่อกัน
            สัญญา (กฎ กติกา มารยาท) ที่ ร่วมกันทำ เป็นธรรม โปร่งใส รับผิดชอบในสิ่งที่ทำ 
1.     การจัดการปกครอง การบริหารปกครอง การบริหารกิจการบ้านเมือง การควบคุมดูแลกิจการ การกำกับดูแลที่ดี อันเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ (Process) และระบบ (System) ซึ่งองค์การหรือสังคมได้มีการปฏิบัติหรือดำเนินการ (Operate)
2.      ธรรมาภิบาล  มักครอบคลุมประเด็น ดังนี้
                - การมีส่วนร่วมของประชาชน(Participation)
            - นิติธรรม (Rule of law)
            - ความโปร่งใส (Transparency)
            - การตอบสนอง (Responsiveness)
            - การแสวงหาฉันทามติ (Consensus oriented)
            - ความถูกต้อง ความเสมอภาค ยุติธรรม เที่ยงธรรม (Equity)
            - ประสิทธิผลและประสิทธิภาพ (Effectiveness & Efficiency)
            - ภาระรับผิดชอบ (Accountability

คุณธรรม จริยธรรม

ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม
 จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล
โดย ดร. จรวยพร ธรณินทร์      ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ


คุณธรรม  (Moral / Virtue)  
คุณธรรม  คือ  คุณ + ธรรมะ    คุณงามความดีที่เป็นธรรมชาติ ก่อให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและ
                      สังคม  ซึ่งรวมสรุปว่าคือ  สภาพคุณงาม ความดี
คุณธรรม (Virtue)   แนวความคิดที่ดีเป็นตัวบังคับให้ประพฤติดี
1. สภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจ
2.  คุณธรรม คือจริยธรรมที่แยกเป็นรายละเอียดแต่ละประเภท หากประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ก็จะเป็นสภาพคุณงามความดีทางความประพฤติและจิตใจของผู้นั้น

จริยธรรม (Ethics)

 จริยธรรม = จริย + ธรรมะ  คือ ความประพฤติที่เป็นธรรมชาติ เกิดจากคุณธรรมในตัวเอง 
          ก่อให้เกิดความ  สงบเรียบร้อยในสังคม      รวมสรุปว่าคือ   ข้อควรประพฤติปฏิบัติ
          จริยธรรม(Ethics) ความเป็นผู้มีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ เสียสละหรือประพฤติดีงาม
1. ประมวล กฎหมาย ที่กลุ่มชนหรือสังคมหนึ่งๆ ยอมรับเป็นแนวควบคุมความประพฤติ เพื่อแยกแยะให้เห็นว่าอะไรควรหรือไปกันได้กับการบรรลุวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2. ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วย ความประพฤติ และการครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร
3. กฎเกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญา และเหตุผลหรือปรีชาญาณทำให้มนุษย์มีมโนธรรมและ รู้จักไตร่ตรองแยกแยะความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และเป็นการควบคุม กันเองในกลุ่ม หรือเป็นศีลธรรมเฉพาะกลุ่ม
ศีลธรรม (Moral)

        1.  ความประพฤติที่ดีที่ชอบ หรือธรรมในระดับศีล หรือกรอบปฎิบัติที่ดี เกี่ยวกับความรู้สึกรับผิดชอบ บริสุทธิ์ เกี่ยวกับจิตใจ
        2.  หลักความประพฤติที่ดีสำหรับบุคคลพึงปฏิบัติ